น้ำมันปลา (fish oil) – iHerb สั่งซื้ออะไรดี

หลายคนอาจเคยได้ยินเรื่องน้ำมันปลา น้ำมันตับปลา กันมามาก แต่ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า น้ำมันปลามีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า น้ำมันปลา กับ น้ำมันตับปลา เป็นคนละสิ่งกัน ทั้งสองชนิดต่างมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ประโยชน์นั้นแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องรู้ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันปลากับน้ำมันตับปลา เพื่อจะได้รับประทานได้อย่างถูกต้อง

น้ำมันตับปลา คืออะไร

น้ำมันตับปลา (Cod liver oil) คือน้ำมันที่สกัดจากตับของปลาทะเล เช่น ปลาคอด แฮลิบัท เฮอร์ริ่ง เป็นอาหารเสริมที่รับประทานเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินเอ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผิวให้เป็นปกติ นอกจากนี้ในน้ำมันตับปลาก็ยังมีวิตามินดี ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้าสู่ร่างกาย ช่วยให้กระบวนการสร้างกระดูกเป็นไปอย่างปกติ

น้ำมันปลา คืออะไร

น้ำมันปลา (Fish oil) คือ น้ำมันที่สกัดจากเนื้อ หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทูน่า แซลม่อน แมคคาเรล เป็นต้น โดยในน้ำมันปลามีกรดไขมันที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 (Omega-3) และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 (Omega-6) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fatty Acid)

  • กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก EPA (Eicosapentaenoic acid) และกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นเพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น
  • กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเลือด พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

วงการแพทย์ให้ความสนใจถึงประโยชน์ของน้ำมันปลา ต่อโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งมีสาเหตุมาจากการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจไหลเวียนไม่สะดวกเพราะผนังหลอดเลือดหนาและแข็งขึ้นจากการเกาะตัวของโคเลสเตอรอล การอุดตันของเกร็ดเลือดที่รวมตัวกันส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและรุนแรงถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จึงมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้รับประทานอาหารเสริมน้ำมันปลา เพราะมีส่วนช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยลดปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับน้ำมันปลา (Fish oil)

ในปีค.ศ. 1976 ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า ชาวเอสกิโมมีอุบัติการณ์ของการเกิดเส้นเลือดอุดตันต่ำมาก มีระดับไขมันในเลือดต่ำ การเกาะกันของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์ก ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ อาหารหลักที่รับประทานของชาวเอสกิโมและชาวเดนมาร์ก ต่างกัน กล่าวคือ อาหารหลักของชาวเอสกิโม คือ ปลา ส่วนอาหารหลักของชาวเดนมาร์กคือเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม

ในปีค.ศ. 1980 งานวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านประมงซึ่งรับประทานปลาเป็นอาหารหลัก มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจต่ำกว่าทั่วไป การเกาะกันของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดต่ำกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านที่เลี้ยงสัตว์ ซึ่งข้อสังเกตคือ อาหารประจำวันของผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านประมงเป็นอาหารทะเล มากกว่าในหมู่บ้านที่เลี้ยงสัตว์กว่า 2 เท่า และพบว่าอาหารทะเลมีกรดไขมันชนิด EPA ในปริมาณสูง

มีการวิจัยที่ได้สกัดกรดไขมันชนิด EPA ให้อาสาสมัครรับประทาน วันละ 1.4 กรัม พบว่าความหนืดของเลือดของอาสาสมัครลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังจากรับประทาน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ มีการตั้งสมมติฐานว่า อาหารทะเลช่วยลดความหนืดของเลือดซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการ ป้องกันหรือรักษาภาวะเส้นเลือดอุดตัน นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 น้ำมันปลาก็เริ่มได้รับความสนใจจากวงการแพทย์แต่ในเวลานั้น การวิจัยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของน้ำมันปลาในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างแน่นอน เพราะการศึกษาไม่ได้ทำในวงกว้างขวาง จนกระทั่งสิบกว่าปีผ่านไป ก็มีรายงานการศึกษาออกมาอย่างต่อเนื่องว่า น้ำมันปลามีประสิทธิภาพในการป้องกันหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ และยังมีรายงานว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งและข้ออักเสบได้อีกด้วย

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

  • ลดไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และเพิ่มระดับของ HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ดี โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยมาก
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด (Coronary Heart Disease) โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น
  • บรรเทาอาการอักเสบและลดความรุนแรงของโรคปวดข้อ รูมาตอยด์ (Rhematoid Arthritis)
  • ลดการอักเสบของโรคสะเก็ดเงิน

น้ำมันปลา มี DHA มีส่วนช่วยบำรุงสมอง

DHA มีส่วนสำคัญในการพัฒนาจอตาและสมองของทารก แต่เนื่องจากร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง จึงต้องอาศัยจากการรับประทานหรือผ่านจากนมแม่ จากการศึกษาพบว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่า ดังนั้น มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรรับประทานปลาทะเล หรือบริโภคน้ำมันปลาเสริมเพื่อให้ DHA ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม

DHA มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมเสร้างเซลล์สมองและเซลล์ประสาท ซึ่งมีผลต่อสติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย ในวัยเด็กจึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

สำหรับเด็กในวัยเรียนและผู้ใหญ่ในวัยทำงาน แม้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทจะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว แต่ในชีวิตประจำวันก็ประสบกับความเครียดจากการเรียนหรือการทำงาน การที่ร่างกายได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มี DHA จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับผู้สูงอายุซึ่งอาจเกิดโรคอัลไซเมอร์ (ภาวะสมองเสื่อม) ได้ง่ายกว่าวัยอื่น แม้จะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคอัลไซเมอร์ แต่จากการทดลองในประเทศญี่ปุ่นที่ให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์รับประทานอาหารที่มี DHA พบว่าความสามารถในการคำนวณและความสามารถในการตัดสินใจของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด

ขนาดรับประทานน้ำมันปลา

ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างสุขภาพ และผู้ป่วยโรคหัวใจควรรับประทานน้ำมันปลา ประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน (1 แคปซูล หลังอาหาร) ผู้ป่วยที่ต้องการลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรรับประทานวันละ 2 – 4 กรัม (ประมาณ 3 แคปซูลหลังอาหาร)

การรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง อาจทำให้ระดับวิตามินอีในร่างกายลดลง ดังนั้น อาจรับประทานวิตามินอีเสริมตามความเหมาะสม

ข้อควรระวัง คือ ผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านเกร็ดเลือด หรือแอสไพริน ผู้ที่มีเกร็ดเลือดต่ำ มีจุดเลือดออกตามตัว มีเส้นเลือดแตกในสมอง เส้นเลือดแตกในจอตาจากโรคจอตาเสื่อมระยะสุดท้ายในเบาหวาน ห้ามรับประทานน้ำมันปลา ส่วนผู้ที่กำลังจะทำการผ่าตัดให้งดการรับประทานน้ำมันปลาและอาหารทะเลก่อนล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์เพราะน้ำมันปลามีผลต่อการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ส่วนคนที่แพ้อาหารทะเล สามารถรับประทานน้ำมันปลาได้และมีความปลอดภัย

แนะนำ น้ำมันปลา (Fish oil) ราคาถูก จากอเมริกา

Fish-oil-iherb

1. Madre Labs, Omega-3 Premium Fish Oil, 180 mg EPA/120 mg DHA, 100 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Madre-Labs-Omega-3-Premium-Fish-Oil-180-mg-EPA-120-mg-DHA-100-Softgels/37790

2. Natrol, Omega-3 Fish Oil, Lemon Flavor, 1000 mg, 150 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Natrol-Omega-3-Fish-Oil-Lemon-Flavor-1000-mg-150-Softgels/2242

3. Nature Made, Fish Oil, 1200 mg, 100 Liquid Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Nature-Made-Fish-Oil-1200-mg-100-Liquid-Softgels/40399

4. Nature’s Bounty, Fish Oil, 1000 mg, 60 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Nature-s-Bounty-Fish-Oil-1000-mg-60-Softgels/32289

5. 21st Century Health Care, Fish Oil, Omega-3, 1000 mg, 300 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/21st-Century-Health-Care-Fish-Oil-Omega-3-1000-mg-300-Softgels/11541

6. Now Foods, Omega-3, Cardiovascular Support, 200 Softgels

ลิงค์ http://www.iherb.com/Now-Foods-Omega-3-Cardiovascular-Support-200-Softgels/323

7. Nature’s Answer, Liquid Omega-3, Deep Sea Fish Oil EPA/DHA , Natural Orange Flavor, 16 fl oz (480 ml)

ลิงค์ http://www.iherb.com/Nature-s-Answer-Liquid-Omega-3-Deep-Sea-Fish-Oil-EPA-DHA-Natural-Orange-Flavor-16-fl-oz-480-ml/57001

 

คลิกที่นี่ ดู น้ำมันปลา (Fish oil) ทั้งหมด

คลิกที่นี่ สอน วิธีสั่งสินค้า

กลับหน้าแรก

Posted in น้ำมันปลา
how-to-iherb iHerb ไทย แบรนด์ลด 20%
Clearance Sale